จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ผลักดันให้สังคมไทยมุ่งความสำเร็จทางวัตถุ
คนในสังคมแสวงหาความสำเร็จในชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ บ้างก็แสวงหาอำนาจ
บ้างก็แสวงหาผลประโยชน์
จนหลายคนมองเห็นตรงกันว่าปัจจุบันสังคมไทยเริ่มอ่อนแอลงเรื่อย ๆ
และกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง การศึกษา ศาสนา
เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พึงวิตกกังวลยิ่งนั่นคือ
คุณธรรม
จริยธรรมของคนไทยเริ่มถดถอยอันเป็นต้นเหตุที่จะนำไปสู่วิกฤติให้แก่สังคมไทย
ในอนาคต
ถ้าพิจารณาพื้นฐานปัญหาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย
ส่วนหนึ่งและอาจจะเป็นส่วนใหญ่ปัญหานั้นเริ่มจาก “ปัญหาด้านครอบครัว”
ซึ่งเกิดจากการที่ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน
พ่อแม่ไม่มีเวลาให้บุตรหลาน การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และอื่น ๆ
อีกมากมาย
ซึ่งประเด็นปัญหาของสังคมที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทยลำดับต้น ๆ
เช่น ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การมีความรัก
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รวมถึงภัยจากสื่อเทคโนโลยี
โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงอบายมุขทั้งเหล้า บุหรี่
ยาเสพติดได้ง่ายดาย และที่สำคัญคือ “การขาดแบบอย่างที่ดี” นั่นเอง
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
บทความที่ 2 เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ
หลังจากที่ผมได้ตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย สิ่งที่ไม่เคยรู้ เช่น
หลักในการบริหารจัดการสถานศึกษา คุณธรรม จริยธรรม ในการบริหาร ภาวะผู้นำ
ฯลฯ เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในทางการบริหาร มีอะไรอีกมากมายที่ได้เรียนรู้
ดังนั้น ข้าราชการยุคใหม่อย่าคิดแบบน้ำเต็มแก้วตลอดเวลา
ต้องคิดแบบน้ำล้นแก้วและน้ำพร่องแก้ว มีอยู่ 2 ทางถ้าเราไม่เจ๋งพอ
เราก็คิดแบบน้ำพร่องแก้ว เพราะเราจะได้ความรู้มาเติมเต็ม
และถ้าหากต้องการไปมากกว่าเดิม ก็คิดแบบน้ำล้นแก้ว ถ้าเป็นน้ำเต็มแก้ว
มันก็ไม่รู้จะไปไหนต่อแล้ว อย่าไปคิดว่าเมื่อเรามีความรู้เยอะๆ
แล้วมีคนมาสอบถามเยอะๆ ไม่ต้องไปกลัวว่า เขาจะมาแย่งอาชีพเรา
หรือมาแย่งความรู้ของเรา ถ้าเขา Born to be ถึงเราไม่ต้องบอกเขา
เขาก็ต้องเกิดมาในแวดวงตรงนี้อยู่แล้ว
มาแชร์ความรู้สึกที่ดีต่อกันไม่ดีกว่าหรือ
สิ่งสำคัญการที่สุดการเป็นข้าราชการต้องมี คุณธรรม และจริยธรรม ตลอดเวลา
บทความที่ 1 คุณธรรม จริยธรรม
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำว่าจริยธรรม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Morality ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โชติ เพชรชื่น (2524 : 23) กล่าวว่าจริยธรรม ก็คือ “จริยะ” แปลว่าความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ “ธรรม” คือ ความดี เมื่อรวมความหมายของสองคำเข้าด้วยกันคือ ความประพฤติดี กรมวิชาการ (2524 : 3-4) ไดให้ความหมายจริยธรรมว่าเป็นแนวทางของการประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ (2548 : 2) ให้ความหมายคูณธรรมไว้ว่า สิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ยอมรับว่าดีงาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ และความดีงามที่ดีที่แท้จริงต่อสังคม
จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องมือช่วยตัดสิน และกำหนดการกระทำของตนเอง
โคล เบอร์ก (Kohlberg). 1976 : 4-5) ได้ให้ความหมายของจิยธรรมไว้วา จริยธรรมมีพื้นฐานของความยุติธรรม คือมีการกระจายสิทธิและหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน โดยมิได้หมายถึงเกณฑ์บังคับทั่ว ๆ ไป แต่เป็นเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลที่คนส่วนใหญ่รับไว้ในทุกสถานการณ์ ไม่มีการขัดแย้งเป็นอุดมคติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)